กระเทียมโทน สรรพคุณสูง
กระเทียมโทน สรรพคุณสูง
เชื่อไหมว่า กระเทียมโทน จัดเป็นพืชมีสรรพคุณทางสมุนไพรสูง ป้องกันโรคหัวใจ ควบคุมไขมันในเส้นเลือด ป้องกันการจับตัวเป็นลิ่มของเลือด รักษาโรคความดันฯลฯ
กระเทียมโทน สรรพคุณทางสมุนไพรสูงกระเทียมโทนแก้อาการคัดจมูกหายใจไม่ออกช่วงอากาศช่างหนาวเหน็บเกิดอาการแพ้อากาศ คัดจมูก หายใจไม่ออกมันช่างทรมานจริง ๆ
ก็ได้สมุนไพรอย่าง กระเทียมโทน นี่แหละมีสรรพคุณดีจริง
ทานได้มื้อสองมื้อก็เริ่มสบายตัวแล้ว ก็เลยลองเอาสูตรมาบอกต่อ ๆ กัน
ส่วนผสม:
กระเทียมโทน 10-15 หัว, น้ำเปล่าต้มสุก ½ ลิตร,
น้ำผึ้ง 1/2 ถ้วย และ น้ำมะนาว 1 ผล
วิธีทำ:
ก็นำส่วนผสมทั้งหมดนะแหละไปปั่นด้วยเครื่องปั่น กรองเอาแต่น้ำไปแช่ตู้เย็นไว้
ดื่มเจ้าน้ำกระเทียมโทนนี้เช้าเย็น ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ
ก็รู้สึกช่วยให้หายใจโล่งขึ้นเยอะจริง ๆ
มาทำความรู้จักกระเทียมโทนกันเถอะกระเทียมโทน
(ALLIUM SATIVUM LINN) อยู่ในวง ALLIACEAE มีผลงานทางการวิจัยกล่าวถึง
สรรพคุณของกระเทียมโทน ก็คือ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
ป้องกันการจับตัวเป็นลิ่มของเลือด ป้องกันหัวใจขาดเลือด รักษาความดันโลหิตสูง
ในตัวกระเทียมโทนเองก็ยังมีสาร “อัลลิซิน”
ซึ่งเป็นตัวช่วยควบคุมระดับคอเลสเทอรอลในเลือด
และที่สำคัญในใบของเจ้ากระเทียมโทนก็ยังมีสารจำพวก วิตามินบี วิตามินซี แคลเซียม
ฟอสฟอรัส และตัวที่โดดเด่นมากๆ ก็คือ “บีตาแคโรทีน”
กระเทียมสมุนไพรมหัศจรรย์
ข้อมูลจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ระบุว่า กระเทียม (garlic) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Allium sativum Linn. แทบทุกครัวเรือนรู้วิธีการเจียวกระเทียมในน้ำมันให้หอมก่อน แล้วจึงใส่เนื้อสัตว์หรือผัก เป็นวิธีดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์และเพิ่มรสชาติให้กับอาหารประเภทผัดชนิดต่างๆ ได้อย่างดี ทั้งยังใช้กระเทียมเจียวโรยหน้าอาหารอีกหลายอย่าง หรือใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในเครื่องแกงชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเป็นตัวช่วยแต่งกลิ่นและรสร่วมกับมะนาวในน้ำพริกกะปิ แม้แต่พริกน้ำปลาหรือน้ำจิ้มรสแซบก็จะลืมกระเทียมไปไม่ได้ นอกจากนี้ใบและหัวกระเทียมสดๆ ยังเป็นผัก รวมถึงกระเทียมดองของอร่อย
กระเทียมยังเป็นสมุนไพรแก้ไขบรรเทาปัญหาสุขภาพของชาวบ้านมาโดยตลอด หมอพื้นบ้านไทยใช้กระเทียมสดรักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน โรคบิด ป่วง แก้ไอ และกระจายโลหิต กระทั่งเป็นที่สรุปได้ว่า กระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณเด่น 2 ประการ คือ ใช้ทารักษาโรคผิวหนัง และรับประทานแก้โรคความดันโลหิตสูง
การศึกษาทดลองคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาในระยะหลัง พบว่า กระเทียมมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคได้อีกหลายอย่าง แต่การนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้ผลอย่างจริงจังยังจะต้องมีการศึกษาผลทางคลินิกวิทยาให้ถ่องแท้เสียก่อน โดยสรรพคุณต่างๆ ของกระเทียมมีดังนี้
1.ฆ่าเชื้อรา คือ กลาก เกลื้อน และเชื้อราที่เกิดตามเล็บ หนังศีรษะและผม
2.ฆ่าเชื้อยีสต์ชนิดที่ทำให้เกิดลิ้นขาวเป็นฝ้าในเด็กทารก และทำให้เกิดโรคมุตกิดระดูขาวที่มักจะเกิดในหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือกินยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ
3.ลดความดันโลหิตสูง
4.ลดไขมันและคอเลสเตอรอล
5.ป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว
6.ลดน้ำตาลในเลือด
7.ฆ่าหรือยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแทบทุกชนิด กล่าวคือ มีสารอัลลิซิน ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่มักทำให้เกิดโรคได้ถึง 15 ชนิด โดยเฉพาะยับยั้งเชื้อพวกที่ดื้อยาเพนนิซิลินได้ดีกว่าเชื้อพวกที่ไม่ดื้อยาอีกด้วย นอกจากนี้ ยังฆ่าเชื้อบิดมีตัวที่มีพิษต่อลำไส้ได้ดี โดยมีสารที่สำคัญคือกาลิซิน รวมทั้งสามารถยับยั้งเชื้อบิดเทียม ซึ่งไม่รบกวนแบคทีเรียตัวอื่นที่มีประโยชน์ต่อลำไส้
8.ยับยั้งเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง และใช้รักษาแผลสด แผลที่เป็นหนอง คออักเสบ ทอนซิลอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เชื้อวัณโรค และเชื้อปอดบวม
9.รักษาไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
10.เป็นยาขับเสมหะและมีฤทธิ์ขับเหงื่อและขับปัสสาวะ
11.รักษาโรคไอกรน
12.แก้หืดและโรคหลอดลม
13.แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย
14.ควบคุมโรคกระเพาะ คือมีสารเอเอส 1 ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ และยังช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้ด้วย
15.ขับพยาธิต่างๆ ได้หลายชนิด ได้แก่ พยาธิเข็มหมุด พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย และมีรายงานทดสอบจากอินเดียว่า กระเทียมมีสารไดอัลลิลไดซัลไฟด์ มีฤทธิ์ใช้ฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ดี
16.แก้เคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง เพราะมีสารอัลลิซินเป็นตัวช่วยทำให้เลือดไหลเวียนมายังบริเวณที่ทาถูนวดยาได้ดีมากขึ้น
17.แก้ปวดข้อและปวดเมื่อย
18.ต่อต้านเนื้องอก
19.กำจัดพิษตะกั่ว
20.บำรุงร่างกาย
ประเทศญี่ปุ่นได้ค้นพบสารในกระเทียมชื่อสคอร์ดินิน ไม่มีกลิ่น แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง รวมทั้งช่วยให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโตและช่วยลดไขมันในร่างกาย และยังมีผู้พบว่าในกระเทียมมีธาตุเจอร์เมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคหืด โรคไต โรคตับอ่อนและอาการท้องผูก รวมถึงมีสารชักนำวิตามินบี 1 เข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้นเท่าตัว โดยรวมเป็นสารอัลลิลไทอะมิน ทำให้วิตามินบี 1 ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นถึง 20 เท่า
เครดิต : www.thaiinperth.com
สวัสดีครับ วันนี้ผมขอนำเสนอเกี่ยวกับกระเทียมโทนครับ ปกติผมชอบรับประทานอยุ่แล้วครับ สำหรับกระเทียมโทน เพราะช่วยบำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดี บ้างก็บอกว่าเป็นยาโดฟร่างกาย ช่วยให้คุณผู้ชายสดชื่อ กระปรี้กระเปร่าครับ
กระเทียม สรรพประโยชน์ล้ำค่า จากตำนานสมุนไพร
เรามารู้จักกระเทียมกันก่อนครับ ว่ามาจากไหน
กระเทียม ถูกนำมาใช้เป็นยาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณเรื่อยมา เข้ามาในยุโรป อินเดีย และเอเชียและเผยแพร่เข้าไปในอเมริกา ปัจจุบันมีการวิจัยพยายามศึกษาหาสารในกระเทียมว่า มีสารอะไรบ้าง ที่มีประโยชน์ในการรักษาโรค โรคที่ใช้รักษาได้คือ โรคหัวใจ, มะเร็ง, ภูมิคุ้มกันบกพร่อง, ใช้ต่อต้านอนุมูลอิสระก่อนที่จะทำลายเซลล์ดีๆ ของร่างกาย ฯลฯ เป็นพืชล้มลุกที่มีหัวอยู่ใต้ดิน แต่ละหัวประกอบด้วยกลีบเรียงซ้อนกันประมาณ 4-15 กลีบ บางพันธุ์จะมีเพียงกลีบเดียว เรียกว่า กระเทียมโทน แต่ละกลีบมีกาบเป็นเยื่อบางๆสีขาวอมชมพูหุ้มอยู่โดยรอบ กระเทียมมีรากไม่ยาวนัก ใบมีลักษณะยาวแบน ปลายใบแหลมแคบ โคนมีใบหุ้มซ้อนกัน ดอกออกเป็นช่อ มีสีขาวติดเป็นกระจุกที่ปลายก้านช่อ กระเทียมมีกลิ่นหอมฉุน รสชาติเผ็ดร้อน
สารสำคัญที่ทำให้กระเทียมมีกลิ่นหอมฉุนเผ็ดร้อนคือเอนไซม์อัลลิเนส (Allinase) ที่เปลี่ยนสารอินทรีย์กำมะถันอัลลิอิน (Alliin) ให้เป็นน้ำมันหอมระเหยอัลลิซิน (Allicin) และเมื่อนำหัวกระเทียมสดมากลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันกระเทียม (Garlic oil) นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหาร น้ำ กรดไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต น้ำตาล กรดอะมิโน เหล็ก แคลเซียม วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินซี ฯลฯ
การกินกระเทียมทั้งสดหรือแห้งเป็นประจำสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันและกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ความดันโลหิตสูง และปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันโรคหวัด วัณโรค คอตีบ ปอดบวม ไทฟอยล์ มาลาเรีย คออักเสบและอหิวาตกโรคได้อีกด้วย วิธีการใช้กระเทียมเพื่อรักษาโรคต่างๆคือ
1. ใช้ขับเหงือ ขับปัสสาวะ และขับเสมหะ โดยใช้กระเทียมสดครึ่งกิโลกรัม ทุบพอแตก แช่ในน้ำหวานหรือน้ำผึ้ง 1 ถ้วย ประมาณ 1 สัปดาห์ รับประทานครั้งละครึ่งช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง
2. ใช้ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โดยใช้กระเทียมสด 5-7 กลีบ บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำตาลและเกลือเล็กน้อย กรองเอาแต่น้ำ ดื่มวันละ 3 ครั้ง หลังรับประทานอาหาร
3. ใช้รักษาแผลสด แผลเป็นหนอง โดยใช้กระเทียมสดปอกเปลือก นำมาทุบหรือฝานทาในบริเวณที่เป็นแผล
4. ใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกี่ยวกับเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า เชื้อราในช่องคลอด โดยใช้น้ำที่คั้นจากกระเทียมสดทาบริเวณที่เป็น
5. ลดอาการปวดฟันจากฟันผุ โดยใช้กระเทียมสดสับละเอียดทุกฟันที่ผุ
6. ใช้รักษาอาการปวดหู หูอื้อ หูตึง โดยใช้น้ำกระเทียมหยอดหูประมาณ 1-2 หยด วันละ 3-4 ครั้ง
ข้อควรระวัง
1. ถ้าเก็บกระเทียมไว้นานเกินไป สารสำคัญในกระเทียมจะลดน้อยลง และหากจะใช้กระเทียมให้ได้ผลดีก็ไม่ควรกินหรือกลืนกระเทียมทั้งกลีบ ควรจะทุบหรือสับให้ละเอียดเสียก่อน เพื่อให้น้ำมันในกระเทียมมีฤทธิ์ในการรักษามากยิ่งขึ้น
2. หากจะเก็บกระเทียมไว้เพื่อรับประทานได้นานๆให้นำไปดองในน้ำส้มสายชูหรือน้ำซีอิ๊ว เพราะจะช่วยรักษาคุณค่าทางอาหารของกระเทียมได้เป็นอย่างดี
3. การปรุงกระเทียมโดยใช้ความร้อน เช่น การเจียว การต้ม จะทำให้คุณค่าในการเป็นยารักษาโรคน้อยลง ดังนั้น ควรรับประทานกระเทียมในปริมาณที่มากขึ้นกว่าเดิม
4. คนที่เป็นโรคกระเพาะหรือท้องว่าง ไม่ควรรับประทานกระเทียม เพราะจะทำให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร และเมื่อเกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ ควรรับประทานกระเทียมให้น้อยลง
ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสนใจการรักษาแบบผสมผสานหรือการแพทย์ทางเลือก ซึ่งมีหลายวิธีที่นำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง หนึ่งในนั้นคือ การใช้สมุนไพรธรรมชาติมารักษา จากจารึกในอดีตพบว่ากระเทียมจัดเป็นพืชสมุนไพรเก่าแก่ถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคของชาวจีน อียิปต์ บาบิโลน กรีก และโรมัน มานานกว่าสามพันปี
การค้นคว้าและวิจัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับสารสำคัญล้ำค่าของสมุนไพรใกล้ตัวอย่างกระเทียมของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกว่า 2,500 การทดลอง ทำให้เราทราบว่าธรรมชาติมีการผสมผสานสารสำคัญในกระเทียมไว้อย่างลงตัว อาทิเช่น
- สารประกอบซัลเฟอร์อย่างน้อย 33 ชนิด ซึ่งรวมถึง อัลลิซินและ S allylmercaptocystein
- กรดอะมิโนและไกลโคไซด์กว่า 17 ชนิด
- เอ็นไซม์หลากหลายชนิด
- เกลือแร่ โดยเฉพาะ เซเลเนียม
โดยสารสำคัญเหล่านี้ เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้กระเทียมมีประโยชน์มากมายแก่ร่างกาย เป็นเสมือนยารักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจ โดยช่วยลดระดับไขมันในกระแสเลือด เช่น ลดโคเลสเตอรอลชนิดรวม และแอล ดี แอล โคเลสเตอรอล จึงเหมาะกับผู้ที่มีระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูงมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร มีผลในการลดความดันโลหิตสูง ช่วนส่งเสริมให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสร้างเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้น และกระเทียมยังเปรียบเสมือนยาปฏิชีวนะ ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อต่างๆ โรคมะเร็ง และ ช่วนต้านสารอนุมูลอิสระในร่างกาย
กระเทียม.........สร้างความสมดุลให้แก่หัวใจ หัวใจ....เป็นอวัยวะที่ต้องทำงานตลอดชีวิต เพื่อสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย หากหัวใจของคุณมีปัญหาจนนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อนั้นความสมดุลในชีวิตของคุณจะหายไปทันที ดังนั้นจึงควรหาทางป้องกันโรคหัวใจตั้งแต่วันนี้ เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะสารอาหารธรรมชาติที่มีส่วนช่วยดูแลหัวใจ
การผสมผสานคุณประโยชน์ 3 ประการ ของกระเทียมที่ช่วยสร้างสมดุลให้แก่หัวใจ
1.ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
เพราะปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจส่วนใหญ่ เนื่องมาจากการสะสมตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งกระเทียมมีส่วนช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด โดยไขมันชนิดนี้เป็นสาเหตุหลักของการเกิดการอุดตันของเส้นเลือด จากการวิจัยพบว่าสารประกอบซัลเฟอร์ในกระเทียมโดยเฉพาะอัลลิซิน สามารถลดระดับโคเลสเตอรอลรวม และโคเลสเตอรอลชนิดร้ายได้ดี
สำหรับกรณีผู้ที่มีปัญหาระดับไขมันโคเลสเตอรอลสูงกว่า 210 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ควรเสริมด้วยเลซิตินควบคู่กับกระเทียมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดให้ดียิ่งขึ้นแต่กรณีผู้ที่มีปัญหาระดับไขมันโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์สูงทั้งคู่ ควรเสริมด้วยน้ำมันปลา (โอเมก้า 3)ควบคู่กับกระเทียม จะช่วยลดไขมันทั้งโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ได้อย่างดี รวมทั้งน้ำมันปลายังมีผลในการเพิ่มระดับไขมันดคเลสเตอรอลชนิดดี ที่มีหน้าที่ในการพาไขมันโคเลสเตอรอล ที่สะสมอุดตันตามผนังหลอดเลือดกลับไปทำลายหรือเผาผลาญที่ตับ ดังนั้น หากสามารถเพิ่มระดับไขมันโคเลสเตอรอลชนิดดี เพียง 1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ถึง 3-4%
1. ลดภาวะความดันโลหิตสูง
โดยเฉพาะลดความดันโลหิตค่าบน ได้ 7.7มิลลิเมตรปรอท และลดความดันโลหิตค่าล่าง ได้ 5มิลลิเมตรปรอท
2. ลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือดได้ถึง 58%
เพราะการมีไขมันสะสมที่หลอดเลือดมากเกินไปจนก้อนไขมันเกิดการแตกตัว จะส่งผลกระตุ้นให้เกิดการอุดตัน ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน หรือสมองขาดเลือด จนเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
กระเทียม......สร้างสมดุล เสริมสร้างต้านทาน ลดภูมิแพ้
คุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมีปัญหาเช่นนี้หรือไม่ พออากาศเริ่มเปลี่ยน ก็มีอาการคันจมูก ตา และลำคอ จนต้องไอหรือจาม ไม่ยอมหยุด บางครั้งอาจมีน้ำมูกใสๆไหลออกมา พร้อมกับอาการปวดบรอเวณศีรษะ โหนกแก้ม และหน้าผาก หากคำตอบคือ ใช่ คุณ คือ ผู้หนึ่งที่มีอาการของโรคภูมแพ้
สาเหตุของโรคภูมิแพ้ เกิดจาก 2 ปัจจัย คือ
ปัจจัยภายใน เกิดจากการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
ปัจจัยภายนอก โดยการกระตุ้นจากมลภาวะต่างๆ เช่น เกสรดอกไม้ ฝุ่น ควัน หรือมลพิษ
มีหลายวิธีเราสามารถปฏิบัติเพื่อเพิ่มภูมิต้านทานของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย รับปนะทานผักและผลไม้ เสริมวิตามิน เช่น วิตามินซี ควบคู่กับการเลือกใช้สมุนไพร เช่น กระเทียม เพื่อช่วยรรเทาอาการภูมิแพ้ เสริมภูมิคุ้มกันได้................เนื่องจาก
1.กระเทียม มีสารสำคัญ คือ อัลลิซิน จึ่งช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายดดยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาว เช่น Macrophges และ T-Iymphocyte เพิ่มขึ้น เมื่อร่างกายมีเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น จะส่งผลในการช่วยบรรเทาและลดอาการภูมิแพ้
2.ฤทธิ์ของกระเทียมที่เปรียบเสมือนยาปฏิชีวนะ ที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคที่เรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา ดังนั้นกะเทียมจึงมีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดการเกิดภูมิแพ้ และอาการเรื้อรังทางระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด หอบหืด ไซนัส หูอักเสบ เป็นต้น
สำหรับกรณีที่เสริมด้วย วิตามินซีควบคู่กับกระเทียม พบว่าช่วยบรรเทาและลดความถี่ของดรคภูมิแพ้ เนื่องจากวิตามินซีและกระเทียมจะเสริมฤทธิ์กันในการกระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดเลือดขาวของร่างกายส่งเสริมให้ภูมมิต้านทานร่างกายดีขึ้นอย่างชัดเจน
ด้วยรักและปรารถนาดี
อ้างอิงโดย
1.https://www.panyathai.or.th/wiki/index.php
2.Dion M., and Milner A. S-allyl cysteine inhibits nitrosomorpholine formation and bioactivation.Nutr Cancer,1997;28(1):1-6.
3.www.megawecare.com